Page 6 - ch01
P. 6

ห น้ า  | 6                                                                            บทที่ 1  การเปลี่ยนแปลงทางเคมี


            ชาและน้ าตาลที่ใส่ในชา ดังนั้น ตัวอย่างชาที่ใส่น้ าตาลจึงจัดเป็นของผสม (mixture) ซึ่งประกอบด้วยชนิดของ

            อะตอมหรือโมเลกุลที่ต่างกันสองชนิดหรือมากกว่า ที่สามารถรวมกันในสัดส่วนที่ต่างกัน





















                                     ภาพ 1-5  การจ าแนกสสารตามองค์ประกอบของสสาร

                       [Kotz, Chemistry and Chemical Reactivity 7 edition หน้า 10, 2009, BrooksCole]



                    สารบริสุทธิ์ยังสามารถจ าแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ธาตุและสารประกอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสาร
            บริสุทธิ์นั้นสามารถแยกออกเป็นสารอย่างง่ายอีกได้หรือไม่ ฮีเลียมในเรือเหาะหรือบอลลูนเป็นตัวอย่างของธาตุ

            (element) ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสารอย่างง่ายโดยกระบวนการทางเคมี น้ าเป็นตัวอย่างของสารประกอบ

            (compound) ซึ่งประกอบด้วยธาตุสองชนิดหรือมากกว่า (ในกรณีของน้ าคือธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน) ใน

            สัดส่วนที่แน่นอน บนโลกของเรา สารประกอบมีปริมาณมากกว่าธาตุบริสุทธิ์ เนือ่งจากธาตุส่วนใหญ่รวมกับธาตุ
            อื่นเกิดเป็นสารประกอบ



                    ของผสมสามารถจ าแนกออเป็น 2 ประเภท คือ ของผสมเอกพันธุ์และของผสมวิวิธพันธุ์ ขึ้นอยู่กับว่า

            สารผสมกันแล้วมีความเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นเอกรูปหรือไม่ ทรายที่เปียกน้ าเป็นตัวอย่างของผสมวิวิธพันธุ์
            (heterogeneous mixture) และน้ าชาที่ใส่น้ าตาลเป็นตัวอย่างของผสมเอกพันธุ์ (homogeneous

            mixture) ซึ่งมองดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นเนื้อเดียวกันทั้งของผสม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือดูเหมือนมี

            องค์ประกอบเดียวในของผสม


            การแยกของผสม

            วิธีการแยกของผสมออกเป็นองค์ประกอบสามารถท าได้หลายวิธี การแยกอาจท าได้ง่ายหรือยากขึ้นกับ

            องค์ประกอบในของผสม โดยทั่วไปของผสมสามารถแยกออกจากันได้ เนื่องจากองค์ประกอบที่ต่างกันจะมี

            สมบัติทางเคมีและกายภาพที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ของผสมระหว่างทรายกับน้ าสามารถแยกออกจากกันได้โดย
            วิธีการดีเคน (decanting) ซึ่งท าโดยการเทน้ าออกอย่างระมัดระวังไปยังอีกภาชนะหนึ่ง ส าหรับของผสมของ




                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11