Page 4 - ch01
P. 4

ห น้ า  | 4                                                                            บทที่ 1  การเปลี่ยนแปลงทางเคมี


            2.  การจ าแนกสสาร

            สสาร (matter) คือทุกสิ่งทุกอย่างที่ครอบครองพื้นที่และมีมวล ตัวอย่างของสสาร เช่น เอกสารค าสอนเล่มนี้
            โต๊ะ เก้าอี้ และร่างกายของคนเราซึ่งประกอบด้วยสสารจ านวนมากมาย นอกจากนี้อากาศที่อยู่รอบตัวเรา

            จัดเป็นสสารด้วย เนื่องจากอากาศครอบครองพื้นที่และมีมวล เราสามารถจ าแนกสสารตามสถานะ (ของแข็ง

            ของเหลว และแก๊ส) และตามองค์ประกอบของสสาร


            การจ าแนกสสารตามสถานะของสสาร: ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

            สสารสามารถคงอยู่ได้ในสถานที่ต่างกัน 3 สถานะ ได้แก่ สถานะของแข็ง (solid) สถานะของเหลว (liquid)

            และสถานะแก๊ส (gas) ภาพ 1-2 แสดงภาพในระดับโมเลกุลของสสารทั้ง 3 สถานะ สสารที่อยูในสถานะ

            ของแข็ง อะตอมหรือโมเลกุลอยู่ใกล้ชิดกันและกันในต าแหน่งที่แน่นอน ถึงแม้ว่าอะตอมหรือโมเลกุลในของแข็ง
            มีการสั่น แต่จะไม่เคลื่อนที่ ดังนั้น ของแข็งจึงมีปริมาตรที่แน่นอนและมีรูปร่างแข็ง ตัวอย่างของสสารในสถานะ

            ของแข็ง เช่น น้ าแข็ง อลูมินัม และเพชร สสารที่เป็นของแข็งอาจเป็นผลึก (crystalline) ซึ่งอะตอมหรือ

            โมเลกุลมีการจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบและมีรูปทรงเรขาคณิต เช่น เพรชรและเกลือ หรืออาจเป็นอสัณฐาน

            (amorphous) ซึ่งอะตอมหรือโมเลกุลไม่มีการจัดระเบียบความยาวช่วงต าแหน่งของอะตอมหรือโมเลกุล เช่น
            แก้ว พลาสติก และถ่านหุงต้ม โครงสร้างของเพชรซึ่งเป็นของแข็งสัณฐานและโครงสร้างของแกรไฟต์หรือถ่าน

            แสดงดังภาพ 1-3 และ 1-4 ตามล าดับ

































                ภาพ 1-2 ภาพระดับโมเลกุลของสสารทั้ง 3 สถานะ ก้อนน้ าแข็งวางบนผิวที่ร้อนและเกิดสถานทั้งสามของน้ า

                              (a) น้ าแข็ง (สถานะของแข็ง) (b) น้ า (สถานะของเหลว) (c) ไอน้ า (สถานะแก๊ส) [Petruuci, General

                              Chemistry 11 edition, 2011, หน้า 8, Pearson]



                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9