Page 7 - ทฤษฎีควอนตัมและโครงสร้างอะตอม
P. 7

ห น้ า  | 75                                                             บทที่ 3  โครงสร้างอะตอมและทฤษฎีควอนตัม




































                                               ภาพ 3-7  โปรตอนและนิวตรอนในอะตอม

                                          [Burdge, Chemistry 2 edition, 2011, McGraw Hill]




                  3.  รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าและสสาร
                  ทฤษฎีเกี่ยวกับพลังงานและการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมอาศัยการศึกษาการเกิดอันตรกิริยาระหว่างสสาร

                  กับแสงแม่เหล็กไฟฟ้า ตัวอย่างของแสงแม่เหล็กไฟฟ้าและการประยุกต์ใช้งานที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่

                  แสงอาทิตย์ รังสีเอ็กซ์เรย์ที่ใช้ในทันตแพทย์ เครื่องไมโครเวป และมือถือที่เราใช้สื่อสาร ทุกรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
                  (electromagnetic radiation) ประกอบด้วยการสั่นของสนามแม่เหล็กที่ตั้งฉากกับสนามไฟฟ้าซึ่งเดิน

                  ทางผ่านที่ว่างด้วยอัตราเดียวกัน (ความเร็วของแสงในบรรยากาศคือ 186,000 m/s หรือในสุญญากาศคือ 3.00
                      8
                  x 10  m/s) ดังภาพ 3-8 เราสามารถอธิบายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในเทอมของคลื่น นั่นคือชนิดต่างๆ ของรังสี
                  แม่เหล็กไฟฟ้าสามารถอธิบายได้ในเทอมของความยาวคลื่นและแอมพลิจูด ความยาวคลื่น (wavelength, )

                  คือระยะทางระหว่างจุดที่เหมือนกันของแต่ละคลื่น หน่วยของความยาวคลื่นคือเมตร นาโนเมตร หรือ
                  ไมโครเมตร แอมพลิจูด (amplitude) คือระยะทางจากเส้นที่อยู่ตรงกลางคลื่นในแนวตั้งจนถึงยอดคลื่น แอม

                  พลิจูดของคลื่นสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าเป็นตัวก าหนดความเข้มหรือความสว่างของแสง ยิ่งมีแอมพลิจูด
                  มาก ความเข้มยิ่งมาก ภาพ 3-9 แสดงความยาวคลื่นและแอมพลิจูดซึ่งเป็นสมบัติของคลื่น

                         เช่นเดียวกับทุกคลื่น แสงสามารถอธิบายได้ในเทอมของความถี่ (frequency, ) คือจ านวนรอบของ

                                                                                            –1
                  คลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในเวลา 1 วินาที หน่วยของความถี่คือรอบต่อวินาทีหรือ s  (เนื่องจากจ านวน
                  รอบไม่มีหน่วย) หน่วยที่เท่ากันของความถี่คือ Hertz (Hz) โดย 1 Hz คือ 1 รอบต่อวินาที




                                                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12