Page 5 - ทฤษฎีควอนตัมและโครงสร้างอะตอม
P. 5

ห น้ า  | 73                                                             บทที่ 3  โครงสร้างอะตอมและทฤษฎีควอนตัม


                         ในปี 1909 Ernest Rutherford (1871-1937) ท างานร่วมกับ Thomson ได้พยายามท าการทดลอง
                  เพื่อยื่นยันแบบจ าลองที่ Thomson เสนอ ในการทดลองของ Rutherford ใช้อนุภาคแอลฟา () ซึ่งเป็น

                  อนุภาคประจุบวกยิงไปยังแผ่นทองค าบางดังแสดงในภาพ 3-5







































                                          ภาพ 3-5  การทดลองแผ่นทองค าบางของรัทเทอร์ฟอร์ด

                                   [Tro, Chemistry A Molecular Approach 2 edition, 2011, Pearson]


                         ถ้าอะตอมของทองเป็นไปตามแบบจ าลองของ Thomson อนุภาคแอลฟาควรวิ่งผ่านแผ่นทองค าบาง

                  โดยไม่มีการเบนหรือเบนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากการทดลองพบว่าอนุภาคแอลฟาส่วนใหญ่วิ่งผ่านแผ่นทองค า
                  บางโดยไม่มีการเบน บางอนุภาคเกิดการเบนจากแนวเส้นตรง และบางอนุภาค (1 ใน 20,000) เกิดการสะท้อน

                  กลับ แสดงว่าแบบจ าลองพลัมพุดดิ้งที่เสนอไว้ตอนแรกไม่ถูกต้อง


                         Rutherford จึงได้เสนอแบบจ าลองใหม่ เรียกว่า แบบจ าลองนิวเคลียร์ (nuclear model) ดังแสดง

                  ในภาพ 3-6 เพื่ออธิบายผลการทดลองที่เขาได้


                         เพื่ออธิบายการสะท้อนกลับของอนุภาคแอลฟาที่เขาสังเกตได้จากการทดลอง มวลและประจุบวกของ
                  อะตอมต้องอยู่รวมกันในที่ว่างและมีขนาดเล็กกว่าขนาดของอะตอมเอง เขาได้เสนอทฤษฎีนิวเคลียร์ (nuclear

                  theory) ของอะตอมซึ่งมาจากพื้นฐานสามข้อดังนี้




                                                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10