Page 6 - ทฤษฎีควอนตัมและโครงสร้างอะตอม
P. 6

ห น้ า  | 74                                                             บทที่ 3  โครงสร้างอะตอมและทฤษฎีควอนตัม





















                   ภาพ 3-6  แบบจ าลองนิวเคลียร์ ผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่สามารถอธิบายโดยใช้แบบจ าลอง
                                   พลัมพุดดิ้ง เขาจึงเสนอแบบจ าลองใหม่ว่าอะตอมต้องมีนิวเคลียสความหนาแน่นสูง ขนาดเล็ก

                                   [Tro, Chemistry A Molecular Approach 2 edition, 2011, Pearson]


               1.  มวลของอะตอมส่วนใหญ่และทั้งหมดของประจุบวกของอะตอมรวมกันอยู่ตรงกลางอะตอม เรียกว่า

                   นิวเคลียส (nucleus)
               2.  ปริมาตรส่วนใหญ่ของอะตอมเป็นพื้นที่ว่าง

               3.  มีอิเล็กตรอนประจุลบจ านวนมากอยู่นอกนิวเคลียส์ และมีอนุภาคประจุบวก เรียกว่าโปรตอน (proton)

                   อยู่ภายในนิวเคลียส์เพื่ออะตอมเป็นกลางทางไฟฟ้า


                    ถึงแม้ว่าแบบจ าลองของ Rutherford ประสบความส าเร็จอย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์คิดว่า
            แบบจ าลองยังไม่สมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจนอะตอมมีหนึ่งโปรตอนและฮีเลียมอะตอมมีสองโปรตอน แต่

            อัตราส่วนโดยมวลของฮีเลียมต่อไฮโดรเจนเป็น 4:1 แสดงว่าฮีเลียมอะตอมต้องมีมวลอื่นด้วย ต่อมา

            Rutherford และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ James Chadwick (1891-1974) ได้แสดงให้เห็นว่ามวลที่
            หายไปประกอบด้วยนิวตรอน (nutron) ซึ่งเป็นอนุภาคที่เป็นกลางภายในนิวเคลียส์ มวลของนิวเคลียส์

            มากกว่ามวลของอะตอม 99.9% มีความหนาแน่นสูง แต่ครอบครองปริมาตรน้อยมากๆ ภาพ 3-7 แสดง

            โปรตอนและนิวตรอนในอะตอมอยู่ในปริมาตรที่น้อยมากๆ ของนิวเคลียส์ ส่วนอิเล็กตรอนกระจายรอบ
            นิวเคลียส์เป็นทรงกลม ตาราง 3-1 แสดงสมบัติของอนุภาคพื้นฐานของอะตอม


            ตาราง 3-1  สมบัติของอนุภาคพื้นฐานของอะตอม
                                       ประจุไฟฟ้า                                  มวล

                                 SI (C)           อะตอม                    SI (g)         อะตอม (amu)
                                         –19
                                                                                  –24
            โปรตอน          +1.6022 x 10            +1                 1.6726 x 10           1.0073
                                                                                  –24
            นิวตรอน                0                 0                 1.6749 x 10           1.0087
                                         –19
                                                                                  –28
            อิเล็กตรอน      –1.6022 x 10            –1                 9.1094 x 10         0.00054858
            [Petrucci, General Chemistry 10 edition หน้า 44, 2011, Pearson]



                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11