Page 4 - ทฤษฎีควอนตัมและโครงสร้างอะตอม
P. 4

ห น้ า  | 72                                                             บทที่ 3  โครงสร้างอะตอมและทฤษฎีควอนตัม

























               ภาพ 3-3 (a) แผนภาพเครื่องมือของมิลลิแกนที่ใช้หาประจุบนอิเล็กตรอน การเคลื่อนที่ตกลงมาของหยดน้ ามัน

                             ที่มีประจุเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลกสามารถท าให้หยุดนิ่งได้โดยการปรับศักย์ไฟฟ้าระหว่างแผ่นขั้วลบ
                             และแผ่นขั้วบวก ค่าศักย์ไฟฟ้าและมวลของหยดน้ ามันนี้สามารถใช้ในการค านวณประจุบนหยด

                           น้ ามัน การทดลองของมิลลิแกนแสดงให้เห็นว่าประจุบนหยดน้ ามันเป็นเลขจ านวนเต็มคูณด้วย
                           ประจุอิเล็กตรอนเสมอ (b) มิลลิแกนก าลังใช้เครื่องมือในการทดลองหยดน้ ามัน

                             [Zumdahl, Chemistry 8 edition หน้า 49, 2010, BrooksCole]


            2.  โครงสร้างอะตอม

            การค้นพบอนุภาคประจุลบภายในอะตอมท าให้เกิดค าถามใหม่ เนื่องจากอะตอมเป็นกลางทางประจุ แสดงว่าล

            อะตอมต้องมีประจุบวกเพื่อหักล้างกับประจุลบของอิเล็กตรอน แต่ประจุบวกและประจุลบอยู่รวมกันภายใน
            อะตอมได้อย่างไร J. J. Thomson เสนอว่าอิเล็กตรอนประจุลบเป็นอนุภาคเล็กกระจายอยู่ภายในทรงกลม

            ประจุบวก เรียกว่าแบบจ าลองพลัมพุดดิ้ง (plum pudding model) ดังแสดงในภาพ 3-4




















                                      ภาพ 3-4  แบบจ าลองโครงสร้างอะตอมของทอมสัน

                             [Tro, Chemistry A Molecular Approach 2 edition, 2011, Pearson]




                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9