Page 6 - มวลสารสัมพันธ์
P. 6

ห น้ า  | 34                 บทที่ 2  มวลสารสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมีว่าด้วยอะตอม นิวเคลียส โมเลกุล และไอออน


            3.  ไอโซโทป
            ไอโซโทป (isotope) คืออะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอม (Z) เท่ากัน แต่มีเลขมวล (A) ต่างกัน เช่น ซิลิกอนที่

            พบในธรรมชาติมี 3 ไอโซโทป ดังนี้

                           ไอโซโทป                             28 Si   29 Si   30 Si
                           เลขอะตอม (Z) หรือโปรตอน             14     14     14

                           นิวตรอน                             14     15     16

                           เลขมวล (A) หรือ โปรตอน + นิวตรอน    28     29     30


            ตาราง 2-1 แสดงไอโซโทปของไฮโดรเจน คาร์บอน และออกซิเจน


            ตาราง 2-1  ไอโซโทปของไฮโดรเจน คาร์บอน และออกซิเจน
            สัญลักษณ์     % ในธรรมชาติ       ชื่อไอโซโทป      โปรตอน         นิวตรอน        อิเล็กตรอน

                1 1  H      99.985%           hydrogen           1              0               1

                2 1  H          0.015        deuterium           1              1               1
                               –18
                3 1  H          10            tritium            1              2               1
               12            98.93            carbon-12          6              6               6
                 C 6
               13 6  C         1.07           carbon-13          6              7               6
                                 –10
               14 6  C         2 x 10         carbon-14          6              8               6
               16 8  O         99.762         oxygen-16          8              8               8

               17 8  O         0.038          oxygen-17          8              9               8
               18
                8  O         0.200            oxygen-18          8              10              8
            [Kelter, Chemistry The Practical Science, หน้า 58, 2009, Houghton Mifflin]


            4.  ปริมาณสาร: โมล

            อะตอมมีขนาดเล็กมาก ท าให้ไม่สามารถชั่งน้ าหนักของแต่ละอะตอมได้ นักเคมีจึงได้นิยามหน่วยของสสารที่

            สามารถรู้จ านวนของอนุภาคได้ เรียกหน่วยนี้ว่า โมล (mole) โมลคือปริมาณสารที่มีจ านวนอะตอม โมเลกุล
            หรือไอออนเท่ากับ 12 g ของคาร์บอน-12 พอดี อย่าลืมว่า หนึ่งโมลของสารมีค่าเท่ากับจ านวนอนุภาคเสมอ ไม่

            ว่าสารหรืออนุภาคนั้นเป็นอะไร จ านวนอนุภาคในหนึ่งโมล คือ


                                                                    23
                                      1 mol  =  6.02214179 x 10  อนุภาค

            เราเรียกจ านวนอนุภาคในหนึ่งโมลว่าเลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number, NA)


                                                                                       23
                                                                                              –1
                   เลขอาโวกาโดร =  6.02214179 x 10  ต่อโมล = 6.02214179 x 10  mol
                                                        23
                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11