Page 4 - มวลสารสัมพันธ์
P. 4

ห น้ า  | 32                 บทที่ 2  มวลสารสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมีว่าด้วยอะตอม นิวเคลียส โมเลกุล และไอออน


            เลขมวล
                                             –24
                                                                                      –24
            โปรตอน (มวล = 1.672621637 x 10  g) และนิวตรอน (มวล = 1.674927211 x 10  g) มีมวลใกล้กับ
                                                             –28
            1 amu ในขณะที่อิเล็กตรอน (มวล = 9.10938215 x 10  g) มีมวลน้อยกว่าโปรตอนและนิวตรอนมาก
            ถึงแม้ว่าจ านวนอิเล็กตรอนในอะตอมต้องเท่ากับจ านวนโปรตอน มวลของอิเล็กตรอนมีค่าน้อยมากที่จะส่งผลต่อ
            มวลอะตอม ดังนั้น มวลของอิเล็กตรอนไม่จ าเป็นต้องพิจารณา เพื่อประมาณมวลของอะตอม เราบวกจ านวน

            โปรตอนและนิวตรอน ผลรวมของสองค่านี้เรียกว่า เลขมวล (mass number) และใช้อักษร A เป็น

            สัญลักษณ์


                                  A  =  เลขมวล  =  จ านวนโปรตอน  +  จ านวนนิวตรอน


            เช่น โซเดียมอะตอมมี 11 โปรตอนและมี 12 นิวตรอนในนิวเคลียสมี A = 23 ยูเรเนียมอะตอมมี 92 โปรตอน

            และมี 146 นิวตรอนและมี A = 238 อะตอมของกั่วมี 82 โปรตอนและมี 126 นิวตรอน เราสามารถเขียน
            สัญลักษณ์อะตอมโดยแสดงถึงเลขมวลและเลขอะตอมได้ดังนี้









                    ถึงแม้ว่ามวลของอะตอมประมาณเท่ากับเลขมวลของอะตอม มวลที่แท้จริงไม่ได้เป็นเลขจ านวนเต็ม
            เช่น มวลจริงของอะตอมทอง-196 คือ 195.96655 amu ซึ่งน้อยกว่าเลขมวล 196 เล็กน้อย มวลของอะตอม

            สามารถหาได้จากการทดลองโดยใช้เครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์ (mass spectrometer) ดังภาพ 2-1
























                  ภาพ 2-1  ไดอะแกรมของเครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์ เครื่องมือนี้ใช้สนามแม่เหล็กเพื่อวัดมวลของอะตอม

                                  และโมเลกุลโดยตรง [Moore, Chemistry The Molecular Science 4 edition, หน้า 55,
                                  2011, BrooksCole]




                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9