Page 10 - มวลสารสัมพันธ์
P. 10

ห น้ า  | 38                 บทที่ 2  มวลสารสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมีว่าด้วยอะตอม นิวเคลียส โมเลกุล และไอออน


            6.  โมเลกุล สารประกอบ และสูตรเคมี
                    โมเลกุล (molecule) คือหน่วยของสสารที่อะตอมจ านวนสองหรือมากกว่ามารวมกันด้วยพันธะเคมี

            เช่น โมเลกุลคลอรีนประกอบด้วยอะตอมคลอรีน 2 อะตอม เขียนแทนด้วยสูตรเคมีเป็น Cl2 สูตรเคมี

            (chemical formula) ใช้สัญลักษณ์ของธาตุเพื่อแสดงอะตอมที่เป็นองค์ประกอบของสาร โมเลกุล เช่น Cl2 ที่
            ประกอบด้วยสองอะตอม เรียกว่า โมเลกุลอะตอมคู่ (diatomic molecule) ตัวอย่างของโมเลกุลอะตอมคู่

            อื่นๆ เช่น ออกซิเจน (O2) ไนโตรเจน (N2) ไฮโดรเจน (H2) ฟลูออรีน (F2) โบรมีน (Br2) และไอโอดีน (I2) ส าหรับ

            โมเลกุลที่ประกอบด้วยหนึ่งอะตอม เราเรียกว่า โมเลกุลอะตอมเดี่ยว (monoatomic molecule) ตัวอย่าง
            ของโมเลกุลประเภทนี้ ได้แก่ โมเลกุลของพวกแก๊สเฉื่อย (He Ne Ar Kr Xe และ Rn) โมเลกุลอะตอมคู่ยัง

            สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) homonuclear molecule โดยอะตอมทั้งสองเป็นอะตอมของธาตุ
            ชนิดเดียวกัน และ (2) heteronuclear molecule โดยอะตอมทั้งสองเป็นอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน เช่น

            HCl และ HF

                    สารประกอบโมเลกุล (molecular compound) ประกอบด้วยอโลหะที่เกิดพันธะโคเวเลนต์สอง
            พันธะหรือมากกว่า ตัวอย่างเช่น น้ าประกอบด้วยโมเลกุลน้ า (H2O) น้ าแข็งแห้งประกอบด้วยโมเลกุล CO2 และ

            โพรเพนประกอบด้วยโมเลกุล C3H8
                    สารประกอบไอออนิก (ionic compound) ประกอบด้วยแคทไอออนหรือไอออนบวก (ปกติเป็น

            โลหะ) และแอนไอออนหรือไอออนลบ (ปกติเป็นอโลหะ) รวมกันด้วยพันธะไอออนิก หน่วยพื้นฐานของ

            สารประกอบไอออนิกคือหน่วยสูตร (formula unit) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดและเป็นกลางทางไฟฟ้า
                                                                        +
                                                                                –
            ตัวอย่างเช่น เกลือซึ่งมีหน่วยสูตรเป็น NaCl ประกอบด้วยไอออนของ Na  และ Cl  ในอัตราส่วน 1:1


            สูตรเอมพิริกัล
            สูตรเอมพิริกัล (empirical formula) คือสูตรที่ง่ายที่สุดของสารประกอบ สูตรนี้แสดงชนิดและจ านวนของ

            อะตอม ตัวเลขห้อยในสูตรเอมพิริกัลจะเป็นอัตราส่วนเลขจ านวนเต็มง่ายที่สุด เช่น P2O5 คือสูตรเอ็มพิริกัลของ

            สารประกอบที่โมเลกุลมีสูตร P4O10 โดยทั่วไปสูตรเอ็มพิริกัลไม่ได้บอกอะไรมากนักเกี่ยวกับสารประกอบ
            กรดอะซิติก (C2H4O2) ฟอร์มัลดีไฮน์ (CH2O) และกลูโคส (C6H12O6) ทั้งหมดมีสูตรเอ็มพิริกัลเดียวกันคือ CH2O


            สูตรโมเลกุล

            องค์ประกอบของสารประกอบโมเลกุลเขียนแทนด้วยสูตรโมเลกุล (molecular formula) ซึ่งแสดงถึงจ านวน

            และชนิดของอะตอมที่รวมกันเป็นโมเลกุลโดยใช้ตัวเลขห้อยและสัญลักษณ์ของธาตุ เช่น สูตรโมเลกุลของน้ าคือ
            H2O แสดงให้เห็นว่ามีจ านวน 3 อะตอมต่อโมเลกุล (สองไฮโดรเจนอะตอมและหนึ่งออกซิเจนอะตอม) ตัวเลข

            ห้อยทางด้านขวาของแต่ละสัญลักษณ์ธาตุบอกถึงจ านวนอะตอมของธาตุนั้นที่อยู่ในโมเลกุล ถ้าไม่มีตัวเลขห้อย
            แสดงว่าตัวเลขห้อยเป็น 1 เช่น O ใน H2O หลักการนี้ใช้กับสูตรโมเลกุลของทุกโมเลกุล








                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15