Page 12 - มวลสารสัมพันธ์
P. 12

ห น้ า  | 40                 บทที่ 2  มวลสารสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมีว่าด้วยอะตอม นิวเคลียส โมเลกุล และไอออน















                      [Moore, Chemistry The Molecular Science 4 edition หน้า 77, 2011, BrooksCole]

            7.  การเรียกชื่อและสูตรของสารประกอบอนินทรีย์

            สารประกอบทวิภาคของโลหะและอโลหะ

            สารประกอบทวิภาค (binary compound) คือสารประกอบที่เกิดระหว่างธาตุสองชนิด ถ้าธาตุหนึ่งเป็น
            โลหะและอีกธาตุหนึ่งเป็นอโลหะ โดยทั่วไปสารประกอบทวิภาคเกิดจากการรวมกันของไอออน นั่นคือเป็น

            สารประกอบไอออนิกทวิภาค (binary ionic compound) ส าหรับการเรียกชื่อสารประกอบทวิภาคของโลหะ

            และอโลหะ ท าได้ดังนี้
                 -  เขียนชื่อของโลหะ

                 -  จากนั้นเขียนชื่อของอโลหะ แต่เปลี่ยนตอนท้ายเป็น –ไอด์ (-ide)

            ตัวอย่างเช่น
                                  NaCl          =              Sodium chloride

                                  MgI2          =              Magnesium iodide
                                  Al2O3         =              Aluminum oxide

            ถึงแม้ว่าสารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนบวกและไอออนลบมารวมกัน แต่สารประกอบไอออนิกต้องเป็น
                                                                                                   +
            กลางทางไฟฟ้า ประจุสุทธิหรือประจุรวมของไอออนในหน่วยสูตรต้องเป็นศูนย์ ซึ่งหมายความว่า หนึ่ง Na  ต่อ
                                                                           –2
                                                                3+
                                              –
                                    2+
                   –
            หนึ่ง Cl  ใน NaCl; หนึ่ง Mg  ต่อสอง I  ใน MgI2 และสอง Al  ต่อสาม O  ใน Al2O3 ตาราง 2-2 แสดงชื่อ
            และสัญลักษณ์ของไอออนอย่างง่ายที่เกิดจากโลหะและอโลหะ ตารางนี้มีประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องการเขียน
            ชื่อและสูตรของสารประกอบทวิภาคของโลหะและอโลหะ เนื่องจากโลหะบางชนิดสามารถเกิดเป็นไอออนหลาย
            ตัว ดังนั้นจ าเป็นต้องแสดงความแตกต่างของไอออนเหล่านั้นในการเรียกชื่อ ตัวอย่างเช่น โลหะไอร์ออน (Fe)

                                          2+
                                                            2+
                                                   3+
                                                                                       3+
            สามารถเกิดเป็นสองไอออน คือ Fe  และ Fe  โดย Fe  เรียกว่า iron(II) ion และ Fe  เรียกว่า iron(III)
            ion เลขโรมันที่ตามหลังชื่อของโลหะแสดงถึงเลขออกซิเดชันหรือประจุอย่างง่ายของไอออน ดังนั้น FeCl2
            เรียกว่า iron(II) chloride
                    กรณีที่โลหะมีเลขออกซิเดชันเพียงสองค่า อาจใช้การเรียกชื่อระบบ ous/ic คือใช้ –ous และ –ic
            ต่อท้ายไอออนที่มีเลขออกซิเดชันต่ ากว่าและเลขออกซิเดชันสูงกว่าตามล าดับ ถ้าใช้ระบบนี้แล้ว ไม่ต้องเขียน

            เลขโรมันก ากับ เช่น Cu2O และ CuO ใน Cu2O เลขออกซิเดชันของคอปเปอร์เป็น +1 และใน CuO

            เลขออกซิเดชันของคอปเปอร์เป็น +2 ดังนั้น Cu2O เรียกชื่อว่า cuprous oxide ส่วน CuO เรียกชื่อว่า cupric
            oxide เช่นเดียวกับ FeCl2 เรียกชื่อว่า ferrous chloride และ FeCl3 เรียกชื่อว่า ferric chloride



                                          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศิริไชย
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17