Page 6 - Inorganic Chemistry 2561_2
P. 6

บทที่ 1 ธาตุทรานสิชันและปฏิกิริยารีดอกซ์


               ตารางที่ 1.1 สูตรโมเลกุลสารประกอบออกไซด์และเฮไลด์ของธาตุทรานสิชันเทียบกับธาตุ s และ p block
                  ธาตุกลุ่ม s และ p      สูตรโมเลกุล          ธาตุทรานสิชัน         สูตรโมเลกุล


                       IV A             CCl  และ CO              IV A              TiCl  และ TiO
                                           4       2                                  4        2
                                          4–                                         4–        2–
                       V A             PO  และ POCl              V A              VO  และ V O
                                         3          3                                3      2 7
                                          2–        2–                                2–       2–
                       VI A           SO  และ  S O               VI A             CrO  แล Cr O
                                         4       2 7                                 4       2 7
                                          4–        –                                 –
                       VII A           ClO  และ Cl O             VII A           MnO  และ Mn O
                                                  2 7                                4        2 7
                        I A             NaCl และ KCl              I A                  AgCl

                       II A                CaCl                  II A                  ZnCl
                                               2                                           2

                      ปัจจุบันการเรียกชื่อหมู่ของธาตุทรานสิชันตามระบบ IUPAC ก าหนดให้มี 10 หมู่ โดยนับต่อจากหมู่ที่ 2

               ของ s block เริ่มจาก Sc เป็นหมู่ที่ 3 จนถึง Zn เป็นหมู่ที่ 12 ทั้งนี้เป็นเพราะธาตุในแต่ละหมู่มีสมบัติที่แตกต่าง
               กัน การแบ่งแบบนี้ท าให้ธาตุในหมู่ที่ 8 เดิม มีการจัดเป็นหมู่ใหม่ตามแบบ IUPAC ดังนี้ Fe Ru และ Os อยู่ใน

               หมู่ที่ 8   Co  Rh และ Ir อยู่ในหมู่ที่ 9 และ  Ni  Pd และ Pt อยู่ในหมู่ที่ 10 โดยหมู่ของธาตุทรานสิชันที่จะ
               กล่าวถึงต่อไปจะใช้การเรียกชื่อหมู่ตามระบบ IUPAC



                      สมบัติของธาตุทรานสิชันที่แตกต่างจากธาตุใน s  และ p block คือ
                      1.  เป็นธาตุที่มีการจัดเรียงอิเลคตรอนไม่เต็มใน d และ f ออร์บิทัล

                      2.  ธาตุทุกตัวเป็นโลหะ มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูงน าไฟฟ้าได้ดี เกิดอัลลอยกับโลหะชนิดอื่นได้

                      3.  ธาตุทรานสิชันแถวที่  1  ละลายได้ดีในกรด  HCl  HNO   และ  H SO   เกิดเป็นสารประกอบ
                                                                       3       2   4
                       2+             2+         2+         2+             2+
               [M(OH ) ]  เช่น [Cu(OH ) ] [Fe(OH ) ] [Co(OH ) ]  และ [Ni(OH ) ]
                     2 6            2 6       2 6         2 6            2 6
                      4.  ธาตุทรานสิชันแถวที่ 2 และ 3 ละลายได้น้อย บางธาตุไม่ละลาย ได้แก่ธาตุในกลุ่ม Noble Metal

               คือ Pt  Pd  Au  Rh และ Ir
                      5.  ธาตุทรานสิชันเกิดเป็นไอออนเชิงซ้อนได้เป็นจ านวนมากและมีความเสถียรมากกว่าไอออนเชิงซ้อน

               ของโลหะที่อยู่ใน s  และ p block
                      6.  ธาตุทรานสิชันมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าทั้ง เลขคู่ และ เลขคี่ เช่น  Mn  มีเลขออกซิเดชันได้

               ตั้งแต่ -1 ถึง +7 แต่ยกเว้นหมู่ที่ 3 และ 12 ตาม IUPAC หรือ หมู่ที่ 3 และ 2 เดิม ที่มีเลขออกซิเดชันเท่ากับ
               +3 และ +2 ตามล าดับ  ไอออนของโลหะธาตุทรานสิชันที่มีเลขออกซิเดชันเป็นเลขคี่เมื่อเกิดเป็นไอออนเชิงซ้อน

               พบว่ามีความเสถียรสูง  ซึ่งต่างจากไอออนของธาตุใน  s  และ  p  block  ที่เลขออกซิเดชันเลขคู่เท่านั้นที่มีความ

               เสถียรสูง




               2
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11