Page 10 - Inorganic Chemistry 2561_2
P. 10

บทที่ 1 ธาตุทรานสิชันและปฏิกิริยารีดอกซ์


               ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า  ธาตุทรานสิชันมีเลขออกซิเดชันได้เป็นจ านวนมาก  จึงท าให้มีชนิดของสารประกอบได้

               มากมาย โดยขึ้นกับการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้น


               1.2 ปฏิกิริยารีดอกซ์ของธาตุทรานสิชัน

                      ธาตุทรานสิชันมีสมบัติเป็นโลหะเมื่อท าปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบโลหะออกไซด์  โดยโลหะ

               ท าปฏิกิริยาออกซิเดชันกับออกซิเจนแล้วท าให้เลขออกซิเดชันของโลหะเพิ่มขึ้น  จึงน าปฏิกิริยารีดักชันและออกซิเดชัน
               ของโลหะมาใช้ในการเตรียมโลหะทรานสิชันบริสุทธิ์  การเตรียมโลหะทรานสิชันจากสารประกอบโลหะออกไซด์ท าโดย

               รีดิวซ์ไอออนโลหะเพื่อลดเลขออกซิเดชันจนกลายเป็นโลหะอิสระ  พบว่าปฏิกิริยาเคมีของธาตุทรานสิชันเกี่ยวข้องกับ

               การรับและการให้อิเลคตรอน ปฏิกิริยาการรับอิเลคตรอนเรียกว่า ปฏิกิริยารีดักชัน (reduction reaction) ปฏิกิริยา
               การสูญเสียอิเลคตรอนเรียกว่า  ปฏิกิริยาออกซิเดชัน  (oxidation  reaction)  ปฏิกิริยารวมของปฏิกิริยารีดักชันและ

               ออกซิเดชันเรียกว่า  ปฏิกิริยารีดอกซ์  (redox  reaction)    ชนิดของสารประกอบที่ให้อิเลคตรอนเรียกว่า  ตัวรีดิวซ์
               (reducing  agent  หรือ  reductant)  และชนิดของสารประกอบที่รับอิเลคตรอนเรียกว่า  ตัวออกซิไดซ์  (oxidizing

               agent  หรือ  oxidant)    ปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นการถ่ายเทอิเลคตรอนคล้ายกับปฏิกิริยากรด-เบส  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการ

               ถ่ายเทโปรตอน  แต่ปฏิกิริยารีดอกซ์เกิดจากตัวรีดิวซ์ถ่ายเทอิเลคตรอนไปยังตัวออกซิไดซ์แล้วท าให้เกิดการเปลี่ยน
               เลขออกซิเดชันของอะตอมหรือไอออนในสารประกอบ  ในบางปฏิกิริยาพบว่าเกิดการถ่ายเทอะตอมของธาตุด้วย  การ

               พิจารณาว่าปฏิกิริยาใดเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์สังเกตุได้จากการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน  (oxidation  state)  ของ
               อะตอมในไอออนหรือสารประกอบที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยา

                      การแยกธาตุทรานสิชันจากสารประกอบโดยขบวนการรีดักชันเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยารีดอกซ์  โลหะทรานสิชัน

               บริสุทธิ์ชนิดแรกที่แยกได้โดยขบวนการรีดักชันคือ โลหะทองแดง (Cu) ตามสมการ

                                     2Cu S(s) + 3O (g)      2Cu O(s) + 2SO (g)
                                        2        2             2         2
                                     Cu O(s) + CO(g)          Cu(s)+ CO (g)
                                       2                               2

                      โลหะที่เตรียมได้จากปฏิกิริยารีดักชันตัวถัดมา คือ เหล็ก (Fe)  ธาตุอื่นๆ ไม่สามารถแยกออกมาโดยวิธีการ
               เดียวกันนี้ได้แม้ว่าในสินแร่นั้นมีความเข้มข้นของธาตุสูงก็ตาม แต่ท าได้โดยการแยกด้วยไฟฟ้า (electrolysis)  วิธีนี้

               ใช้แยกโลหะอะลูมิเนียมจากสินแร่ที่มีความเข้มข้นต ่าจนถึงความเข้มข้นสูงได้   เมื่อมีการพัฒนาเตาเผาไฟฟ้าที่ให้
               อุณหภูมิสูงขึ้น จึงสามารถแยกธาตุแมกนีเซียมโดยการรีดิวซ์ด้วยคาร์บอนจากการใช้ความร้อนได้ตามสมการ


                                                     
                                     MgO(s) + C(s)     Mg(l) + CO(g)





               6
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15