Page 3 - ไฟฟ้าเคมี
P. 3

เอกสารค าสอน  30310259                                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  ศิริไชย


               4-1 เลขออกซิเดชัน

               ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน  (oxidation-reduction  reaction)  หรือปฏิกิริยารีดอกซ์  (redox  reaction)  เป็น

               ปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน (oxidation number) หรือออกซิเดชันสเตรต (oxidation state) ของ
               อะตอม เช่น


                                        เลขออกซิเดชัน       0       0           +1  -2
                                                      4 Na  +  O    2 Na O
                                                             2
                                                                       2


               การก าหนดเลขออกซิเดชัน
                       1. ส าหรับอะตอมในรูปของธาตุ เลขออกซิเดชันเป็นศูนย์เสมอ เช่น แต่ละอะตอมของ H ในโมเลกุลของ

                          H  มีเลขออกซิเดชันเป็น 0 และแต่ละอะตอมของ P ในโมเลกุลของ P  มีเลขออกซิเดชันเป็น 0
                          2
                                                                                 4
                       2. ส าหรับไอออนอะตอมเดี่ยว (monatomic ion) เลขอออกซิเดชันเท่ากับประจุของไอออนนั้น เช่น
                                                     2-
                           K  มีเลขออกซิเดชันเป็น +1 และ S  มีเลขออกซิเดชันเป็น -2 ในสารประกอบไอออนิก ไอออนของ
                          +
                              โลหะ alkali (หมู่ 1A) มีประจุ +1 เสมอ ดังนั้น เลขออกซิเดชันเป็น +1  โลหะ alkali earth (หมู่ 2A) มี
                              ประจุ +2 เสมอ และ aluminum (หมู่ 3A) มีประจุ +3 เสมอ ในสารประกอบไอออนิก (ในการเขียน

                              เลขออกซิเดชัน เราจะเขียน + หรือ – ก่อนตัวเลข เพื่อให้ต่างจากประจุ ซึ่งเขียนเครื่องหมาย +
                              หรือ – หลังตัวเลข)

                       3.  โดยทั่วไป อโลหะมีเลขออกซิเดชันเป็นลบ ถึงแม้ว่าบางครั้งเป็นบวก
                            3.1 เลขออกซิเดชันของ oxygen ปกติเป็น -2 ทั้งในสารประกอบไอออนิกและโมเลกุล ยกเว้น

                                                                 2-
                                    สารประกอบพวก peroxide ซึ่งมีไอออน O แต่ละออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1
                                                                2
                            3.2 เลขออกซิเดชันของ hudrogen ปกติเป็น +1 เมื่อเกิดพันธะอโลหะ และ -1 เมื่อเกิดพันธะกับ
                                    โลหะ (metal hydride เช่น sodium hydride, NaH เลขออกซิเดชันของ H คือ -1)

                            3.3 เลขออกซิเดชันของ fluorine เป็น -1 ในทุกสารประกอบ ส่วน halogen อื่น ๆ มีเลขออกซิเดชัน
                              เป็น -1 ในสารประกอบทวิภาคส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เมื่อ fluorine รวมตัวกับ oxygen เช่น

                              oxyanion เลขออกซิเดชันของ fluorine เป็น +1

                       4. ผลรวมของเลขออกซิเดชันของทุกอะตอมในสารประกอบที่เป็นกลางเป็นศูนย์ ผลรวมของเลข
                             ออกซิเดชันในไอออนหลายอะตอม (ployatomic ion) เท่ากับประจุของไอออน เช่น hydronium ion
                             (H O ) หรือ H เลขออกซิเดชันของ H เป็น +1 และเลขออกซิเดชันของ oxygen เป็น -2 ดังนั้น
                                    +
                             +
                          3
                             ผลรวมของเลขออกซิเดชันคือ 3(+1) + (-2) = +1 ซึ่งเท่ากับประจุสุทธิของไอออน  กฎข้อนี้มี
                             ประโยชน์ในการหาเลขออกซิเดชันของอะตอมหนึ่งในสารประกอบหรือไอออน เมื่อเรารู้เลขออกซิ
                             เดชัน ของอะตอมอื่น ๆ








               เรื่อง   ไฟฟ้าเคมี                                        หน้า 129
   1   2   3   4   5   6   7   8