Page 21 - ไฟฟ้าเคมี
P. 21

เอกสารค าสอน  30310259                                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  ศิริไชย


               สมการของเนินสต์

                  จากทฤษฎีและผลการทดลอง  ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์สัมพันธ์กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์
               และอุณหภูมิตามสมการ


                                                  E  = E            RT     lnQ
                                                                nF 


               เรียกสมการข้างต้นว่า  สมการเนินสต์  (Nernst  equation)  โดยที่  R   คือค่าคงที่ของแก๊ศ  (8.314472
                J/mol K  ) T  คืออุณหภูมิสัมบูรณ์ (K) และ n  คือจ านวนโมลของอิเล็กตรอนที่ถ่ายโอนระหว่างตัวออกซิไดส์

               และตัวรีดิวซ์ (รู้จากสมการที่ดุลแล้วของปฏิกิริยา) F  คือค่าคงที่ฟาราเดย์ (Faraday constant, 96485 C/mol)
               โดย 1 ฟาราเดย์ คือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อหนึ่งโมลของอิเล็กตรอน  Q  คือผลหารของปฏิกิริยา (reaction

               quotient) ถ้าเราแทนค่าคงที่ต่าง ๆ ลงในสมการเนินสต์ และใช้อุณหภูมิที่ 298 K จะได้รูปของสมการเนินสต์ คือ

                                                     =      
                                                  E E        0.0257 lnQ
                                                                n

               หรือสมการเนินสต์ของลอการิทึมฐาน 10 คือ


                                                    =      
                                                  E E       0.0592 logQ
                                                               n
                    สมการเนินสต์แสดงให้เห็นว่า  ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์เปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อความเข้มข้นของสารตั้งต้นและ

               สารผลิตภัณฑ์แตกต่างจากสภาวะมาตรฐาน เมื่อใช้สมการเนินสต์ ในการค านวณค่าของ  Q  ความเข้มข้นของ
               สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ในสารละลายต้องอยู่ในหน่วยของโมลาริตี้ และความดันย่อยของแก๊สต่าง ๆ ต้อง

               อยู่ในหน่วยของบรรยากาศ (atm)


               ตัวอย่างที่ 4-8

                    o
                                                         3+
               ที่ 25 C เซลล์โวลตาอิกประกอบด้วยครึ่งเซลล์  Al (0.0010 M)Al และครึ่งเซลล์ Ni (0.50 M)Ni จงเขียน
                                                                                      2+
               สมการของปฏิกิริยาสุทธิที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้า และจงค านวณหาศักย์ไฟฟ้าของเซลล์
               วิธีท า


               โลหะ aluminum เป็นตัวรีดิวซ์ที่แรงกว่าโลหะ Ni (หรือพูดอีกอย่างหนี่งคือ Ni  เป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีกว่า Al )
                                                                               2+
                                                                                                       3+
                                                3+
               ดังนั้น Al ถูกออกซิไดส์ และครึ่งเซลล์ Al (0.0010 M)Al เป็นแอโนด
                                                       2+
                                                                 -
                       Cathode, reduction:         3 [Ni (aq) + 2e   Ni(s)]
                                                               3+
                                                                         -
                       Anode, oxidation:           2 [Al(s)   Al (aq) + 3e ]
                                                                2+
                                                                              3+
                       สมการของปฏิกิริยาสุทธิ:     2 Al(s) + 3 Ni (aq)  2 Al (aq) + 3 Ni(s)
                                                       E cell     = E cathode    E anode
                                                       E cell  = ( 0.25 V)   ( 1.66 V) =  1.41 V     





               เรื่อง   ไฟฟ้าเคมี                                        หน้า 147
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26