Page 10 - ไฟฟ้าเคมี
P. 10

เอกสารค าสอน  30310259                                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  ศิริไชย


               แอโนด แคโทด และสะพานเกลือ

                    ในเซลล์ไฟฟ้าเคมีทุกเซลล์  เราเรียกขั้วไฟฟ้าที่เกิดออกซิเดชันว่า  แอโนด  (anode)  และขั้วไฟฟ้าที่เกิด

               รีดักชันว่า แคโทด (cathode) ในเซลล์โวลตาอิก แอโนดคือขั้วไฟฟ้าลบ (-) และแคโทดคือขั้วไฟฟ้าบวก (+)
               อิเล็กตรอนไหลจากแอโนดไปแคโทด (จากลบไปบวก) ผ่านเส้นลวดที่เชื่อมต่อขั้วไฟฟ้า


                                                                                     2+
                                                                2+
                    พิจารณาเซลล์โวลตาอิกประกอบด้วยครึ่งเซลล์  Zn|Zn   และครึ่งเซลล์  Cu|Cu   ขณะที่อิเล็กตรอนไหล
                                2+
               ออกจากแอโนด  Zn เกิดขึ้นในครึ่งเซลล์ออกซิเดชัน  ท าให้สารละลายมีประจุบวกเพิ่มขุ้น    ส่วนอีกครึ่งเซลล์
                                             2+
               ขณะที่อิเล็กตรอนไหลเข้าแคโทด Cu ถูกรีดิวซ์ที่ครึ่งเซลล์รีดักชัน ท าให้เพิ่มประจุลบในสารละลาย

                    สะพานเกลือ (salt bridge) ปกติเป็นหลอดแก้วรูปตัวยู เวลาใช้งานจะคว่ าหลอดแก้วเพื่อเชื่อมต่อระหว่าง

               สองครึ่งเซลล์ ภายในบรรจุด้วยอิเล็กโทรไลต์แก่ เช่น KNO  ปกติแล้ว อิเล็กโทรไลต์จะผสมกับเจลและบรรจุใน
                                                               3
               หลอดแก้ว  ปลายทั้งสองของหลอดแก้วจะอุด้วยแผ่นกั้นรูพรุน  เฉพาะไอออนเท่านั้นที่สามารถเคลื่อนที่ผ่าน

               แผ่นกั้นรูพรุนนี้ได้ ไอออนจากสะพานเกลือจะเคลื่อนที่ไปยังแต่ละครึ่งเซลล์เพื่อดุลประจุที่เพิ่มขึ้นในสารละลาย
               ไอออนลบภายในสะพานเกลือจะไหลไปที่แอโนดเพื่อดุลประจุบวกในครึ่งเซลล์  ส่วนไอออนบวกภายในสะพาน

               เกลือจะไหลไปที่แคโทดเพื่อดุลประจุลบในครึ่งเซลล์  หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า  สะพานเกลือท าให้วงจร
               สมบูรณ์และเกิดการไหลของกระแสไฟฟ้านั่นเอง



               กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์
                    กระแสไฟฟ้าจะวัดในหน่วยของแอมแปร์ (ampere, A) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แอมป์ (amp) หนึ่งแอมแปร์คือ

               ปริมาณคูลอมบ์ (ประจุไฟฟ้า) ต่อวินาที
                                                        1 A = 1 C/s


                                                                                       18
                                                 -19
               เนื่องจากอิเล็กตรอนมีประจุ 1.602 × 10  C ดังนั้น 1 A ก็คือการไหลของ 6.242 × 10  อิเล็กตรอนต่อวินาที
                    แรงขับเคลื่อน  (driving  force)  ของกระแสไฟฟ้า  ก็เหมือนกับการไหลของน้ า  ซึ่งการไหลของน้ าเกิดจาก
               ความแตกต่างของพลังงานศักย์โน้มถ่วง (gravitational potential energy) ด้วยหลักการเดียวกัน การไหลของ

               กระแสไฟฟ้าเกิดจากความแตกต่างของพลังงานศักย์  ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของประจุที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองขั้ว
               เรียกว่า  ความต่างศักย์  (potential  difference)  ความต่างศักย์เป็นการวัดความแตกต่างของพลังงานศักย์

               (ปกติในหน่วยของจูล)  ต่อหนึ่งหน่วยประจุ  (ในหน่วยของคูลอมบ์)  หน่วยเอสไอของความต่างศักย์  คือ  โวลท์

               (volt, V) ซึ่งมีค่าเท่ากับหนึ่งจูลต่อคูลอมบ์

                                                        1 V = 1 J/C

                    ถ้าความแตกต่างของประจุระหว่างขั้วไฟ้ฟาทั้งสองมีมาก ความต่างศักย์ก็จะมาก เราเรียกความต่างศักย์นี้
               ว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive force, emf) ในเซลล์โวลตาอิก ความต่างศักย์ระหว่างสองขั้วไฟฟ้า คือ

               ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ (cell potential,E ) หรือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลล์ (cell emf)
                                                 cell





               เรื่อง   ไฟฟ้าเคมี                                        หน้า 136
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15