Page 11 - ไฟฟ้าเคมี
P. 11

เอกสารค าสอน  30310259                                                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์  ศิริไชย


                    โดยทั่วไป  ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ขึ้นกับความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ในเซลล์และอุณหภูมิ

               ภายใต้สภาวะมาตรฐาน (ความเข้มข้นของสารตั้งต้นในสารละลาย คือ 1 M และความดันของสารตั้งต้นที่เป็น
               แก๊ส คือ 1 atm) ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ เรียกว่า ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์มาตรฐาน (standard cell potential,
                 O
                E ) หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้ามาตรฐาน (standard emf) เช่น ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์มาตรฐานในเซลล์ zinc และ
                 cell
               copper ในภาพที่ 4-2 มีค่าเท่ากับ 1.10 V

                                                                         O
                                            2+
                                                        2+
                                   Zn(s) + Cu (aq)  Zn (aq) + Cu(s)      E cell  =  +1.10 V

               แผนภาพเซลล์ไฟฟ้าเคมี

                    เซลล์ไฟฟ้าเคมีสามารถเขียนแทนด้วยแผนภาพที่กระชับ ซึ่งเรียกว่า แผนภาพเซลล์ (cell diagram) เช่น

                                                                     2+
               แผนภาพเซลล์ของเซลล์โวลตาอิกที่ประกอบด้วยครึ่งเซลล์ Zn|Zn  ซึ่งเป็นครึ่งเซลล์ที่เกิดออกซิเดชัน และครึ่ง
               เซลล์ Cu|Cu  ซึ่งเป็นครึ่งเซลล์ที่เกิดรีดักชัน คือ
                          2+

                                             Zn(s) | Zn (aq) || Cu (aq) | Cu(s)
                                                      2+
                                                                2+
               หลักการเขียนแผนภาพเซลล์

                       1. เส้นตั้งคู่ ( || ) แทนสะพานเกลือ

                       2. เขียนครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชันอยู่ทางซ้ายและครึ่งปฏิกิริยารีดักชันอยู่ทางขวาของสะพานเกลือ

                       3. เขียนเส้นตั้งเดี่ยว ( | ) ระหว่างสารที่มีเฟสต่างกันในแต่ละครึ่งเซลล์


                                                                 -
               พิจารณาปฏิกิริยารีดอกซ์ ซึ่ง Fe(s) ถูกออกซิไดส์และ MnO (aq) ถูกรีดิวซ์
                                                                4
                                           -
                                                     +
                                                                  2+
                                                                             2+
                            5 Fe(s) + 2 MnO (aq) + 16 H (aq)  5 Fe (aq) + 2 Mn (aq) + 8 H O(aq)
                                          4
                                                                                        2
               ครึ่งปฏิกิริยาของปฏิกิริยารวม คือ
                                                          -
                       Oxidation:    Fe(s)  Fe (aq) + 2 e
                                               2+
                                                                     2+
                                                          +
                                                   -
                                          -
                       Reduction:    MnO (aq) + 5 e  + 8 H (aq)  Mn (aq) + 4 H O(ℓ)
                                                                               2
                                         4
                    สังเกตุว่า  ในครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน  สปีชีส์หลักทุกตัวอยู่ในเฟสสารละลายในน้ า  ในกรณีนี้  การถ่ายเท
               อิเล็กตรอนต้องใช้ขั้วไฟฟ้า ปกติใช้ขั้วไฟฟ้า platinum (Pt) และการถ่ายเทอิเล็กตรอนเกิดขึ้นที่ผิวของขั้วไฟฟ้านี้
               แผนภาพเซลล์ในกรณีนี้สามารถเขียนได้ดังนี้
                                              2+
                                                                         2+
                                                          -
                                                                 +
                                     Fe(s) | Fe (aq) || MnO (aq), H (aq), Mn (aq) | Pt(s)
                                                         4
               Pt(s) เขียนอยู่ทางขวาสุดของแผนภาพเซลล์ เพื่อบอกให้รู้ว่า ขั้วไฟฟ้า platinum ท าหน้าที่เป็นแคโทดในปฏิกิริยา
               ดังแสดงในภาพที่ 4-3






               เรื่อง   ไฟฟ้าเคมี                                        หน้า 137
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16